ใครบ้างควรรับประทานแคลเซียม
แคลเซียมถือเป็นธาตุอาหารที่สำคัญกับร่างกายมากๆ เพราะแคลเซียมคือองค์ประกอบที่สำคัญ สำหรับกระดูกและฟัน และสำคัญต่อการเจริญเติบโตสำหรับวัยเด็ก นอกจากนี้แคลเซียมยังมีบทบาทอื่นๆ ที่สำคัญสำหรับร่างกายอีกหลายอย่าง เช่น มีส่วนช่วยในการทำงานของกล้ามเนื้อ ช่วยในการทำงานของสารสื่อประสาท ช่วยในการแข็งตัวของเลือด ดังนั้นในวัยอื่นๆ เองก็ควรกินแคลเซียมให้เพียงพอเช่นกัน
วันนี้แอดมินมีข้อมูลมาฝากกันนะคะ ว่าใครบ้าง ที่ควรเสริมแคลเซียม
หญิงตั้งครรภ์
หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับแคลเซี่ยมเนื่องจากจะต้องถ่ายทอดแร่ธาตุดังกล่าวสู่ลูกเพื่อการพัฒนาโครงสร้างทางด้านร่างกายของทารกในครรภ์ ซึ่งหากได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ อาจส่งผลต่อทั้งมารดาและทารก เช่น เกิดอาการชา ตะคริว การเจริญเติบโตของทารกช้าลง ทารกตัวเล็กลง เป็นต้น
วัย 30+
เป็นวัยที่ควรได้รับแคลเซียมเช่นกัน เนื่องจาก แคลเซียมในร่างกายจะเริ่มลดลงเมื่ออายุ 30 ปี จึงควรเสริมการรับประทานแคลเซียมให้กับร่างกายในช่วงนี้ ค่ามวลกระดูกสูงสุด(peak bone mass) ในช่วงอายุ20-24ปีหลังจากนั้นมวลกระดูกที่ลดลงเป็นลำดับโดยจะเริ่มลดลงตั้งแต่ช่วงอายุประมาณ 35-40 ปีในเพศหญิง และช่วงอายุประมาณ 40-45 ปี ในเพศชายซึ่งมวลกระดูกของเพศหญิงจะลดลงในอัตราที่รวดเร็วกว่าเพศชาย โดยเฉพาะช่วงหลังหมดประจำเดือน
หญิงให้นมบุตร
ก็จำเป็นต้องได้รับแคลเซียมเช่นกัน เนื่องจาก การสูญเสียแคลเซียมของคนปกตินั้นมักจะสูญเสียทางปัสสาวะ ในขณะที่คุณแม่ที่ตั้งครรภ์และให้นมบุตรต้องใช้แคลเซียมในปริมาณมากเพื่อการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ และการสร้างน้ำนม ทำให้คุณแม่ มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก และบางรายอาจเกิดภาวะกระดูกบางหรือโรคกระดูกพรุนได้หากรับประทานแคลเซียมไม่เพียงพอ
การรับประทานแคลเซียมหรืออาหารที่มีแคลเซียมสูงจะช่วยป้องกันภาวะกระดูกพรุนจากการให้นมบุตรได้
วัยสูงอายุ
วัยสูงอายุเป็นวัยที่ร่างกายควรได้รับแคลเซียม1,000-1,500 มิลลิกรัม/วัน ซึ่งมากกว่าคนธรรมดา เพราะเมื่ออายุมากว่า 30 ปีแล้ว ร่างกายจะดูดซึมแคลเซียมน้อยลงและไม่สะสมแคลเซียมอีกต่อไป ทำให้เกิดมีปัญหาของกระดูก เพราะได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ และทำให้กระดูกเปราะ พรุนและไม่แข็งแรง ดังนั้นคนในกลุ่มนี้จึงจำเป็นที่จะต้องได้รับแคลเซียมในปริมาณที่เพียงพอต่อหนึ่งวัน เพื่อป้องกันภาวะกระดูกพรุนที่ตามมานั่นเอง
เมื่อใดที่ร่างกายเกิดภาวะขาดแคลเซียม หรือได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอ ร่างกายจะพยายามรักษาสมดุลแคลเซียมในเลือดโดยการ ดึงแคลเซียมที่สะสมในกระดูกมาใช้ ซึ่งเป็นสาเหตุของมวลกระดูกที่ลดลง และส่งผลทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนตามมาได้ ดังนั้นการเสริมแคลเซียมให้กับร่างกายสามารถรับประทานหลากหลายช่วงวัย เพื่อลดโอกาสการเกิดกระดูกพรุน
ที่มา : https://www.sanook.com/health/14349/
https://www.bangkokbiznews.com/social/617052
https://www.naturebiotec.com/who-must-intake-calcium/